TH
โชห่วยไทย
สนับสนุนให้คุณมีรายได้

เรายินดีให้คำปรึกษาและเปิดการสอนสำหรับเปิดบริการร้านโชห่วย

สั่งอาหารออนไลน์ ถูกเร่งการเติบโต ด้วย Social Distancing, อยากสบายๆ และโปรโมชั่นส่วนลด



อ้างอิงจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย และธุรกิจนี้ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี จากพฤติกรรมของคนไทยที่อยากกินของอร่อยแต่รักสบายไม่อยากไปซื้อเองมากขึ้น

และสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ยิ่งทำให้คนไทยหันมาสั่งอาหารผ่านแอปมากขึ้นเช่นกัน

จากผลสำรวจการใช้บริการ Online Food Delivery ของคนไทย” ระหว่างวันที่ 5–15 มีนาคม 2563 ของ ETDA ที่สำรวจคนไทย 376 คน พบว่าในสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงที่รัฐบาลยังไม่ประกาศให้ร้านอาหารขายอาหารเฉพาะนำกลับเท่านั้น คนไทยสั่งอาหารออนไลน์เพราะกลัวโควิด-19 เฉลี่ยรวมกันมากถึง 33.96%

นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลหลักคนไทยนิยมสั่งอาหารออนไลน์คือ ไม่อยากเดินทางไปกินที่ร้านเองมากถึง 80.37% 

รองลงมา ได้แก่ ไม่อยากเสียเวลาไปนั่งต่อคิวถึง 57.63%

และสั่งอาหารผ่านแอปมีส่วนลดและโปรโมชั่นโค้ดต่างๆ  47.04%

สำหรับแอปยอดนิยมสั่งอาหารออนไลน์ของคนไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแอปที่เป็นตัวกลางสั่งอาหาร เช่น Grab Food, Line Man, Food Panda และ Get Food มากถึง 88.47% รองลงมา ได้แก่ แอปโดยตรงของร้านอาหาร 62.93% และที่น่าสนใจคือคนไทยยังนิยมสั่งอาหารผ่านโซเชียลมีเดียของร้าน เช่น เฟซบุ๊ก แชต ไอจี และไลน์ ตามร้านค้าที่มีบริการพร้อมส่งมากถึง 13.08%

ส่วนอาหารยอดนิยมในการสั่งคือ อาหารฟาสต์ฟู้ด ต่างๆ เช่น ไก่ทอด เบอร์เกอร์ พิซซ่า ด้วยการสั่งมากถึง 61.06% รองลงมาคืออาหารตามสั่ง 47.04% และก๋วยเตี๋ยว/อาหารประเภทเส้น 40.50%

และช่วงเวลาที่คนสั่งอาหารมากสุด คือ มื้อกลางวัน ด้วยจำนวนการสั่งมากถึง 42.06%

โดยอาหารที่สั่งมาส่วนใหญ่จะนำมารับประทานที่บ้านมากถึง 87.85% รองลงมาคือที่ทำงาน 46.11%

ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจคือคนไทยใช้เงินกับการสั่งอาหารแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินที่สูงโดยเฉพาะ Gen X ใช้จ่ายมากที่สุด มากถึง 501–1,000 บาทต่อครั้ง รองลงมาคือ กลุ่ม Baby Boomer ส่วนใหญ่ใช้จ่าย 301–500 บาท ขณะที่กลุ่ม Gen Y และ Gen Z ใช้จ่ายไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่อยู่ที่ 101–300 บาท ซึ่งมาร์เก็ตเธียร์มองว่าการใช้จ่ายในสั่งอาหารแต่ละครั้งที่สูงส่วนหนึ่งมาจากการสั่งเพื่อมาแชร์ร่วมกับเพื่อน หรือสั่งเพื่อรับประทานทั้งครอบครัว รวมถึงการสั่งเพื่อรับประทานหลายมื้อ เพื่อประหยัดค่าส่งในแต่ละครั้ง

 

Marketeer FYI

วงในสำรวจร้านอาหารพบว่าในปี 2019 ประเทศไทยมีร้านอาหารเปิดใหม่มากถึง 70,149 ร้าน คิดเป็นการเติบโตจากปี 2018 มากถึง 97%

และเขตไหนในกรุงเทพฯ มีร้านอาหารมากที่สุด

1. จตุจักร: 1,400 ร้าน
2. ปทุมวัน: 1,200 ร้าน
3. วัฒนา: 1,110 ร้าน
4. บางกะปิ: 1,000 ร้าน
5. ประเวศ: 950 ร้าน

ส่วนเขตในกรุงเทพฯ ที่มีร้านอาหารน้อยที่สุดก็คือ
1. ทุ่งมหาเมฆ: 50 ร้าน
2. วงศ์สว่าง: 100 ร้าน
3. หนองจอก: 150 ร้าน
4. สัมพันธวงศ์: 200 ร้าน
5. ป้อมปราบศัตรูพ่าย: 220 ร้าน

ขอบคุณเนื้อหาข่าวและภาพจาก :Marketeeronline.co